วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

โปรแกรม Appserv โปรแกรมสำหรับจำลองเครื่องเป็น Server

ในบทความนี้เราจะมาทำการติดตั้งโปรแกรม Appserv กันค่ะ ขั้นตอนแรกให้เราไปทำการหาโปรแกรม Appserv มาก่อนค่ะ ซึ้งโปรแกรมก็มีมาแล้วหลาย ๆ เวอร์ชั่นค่ะ เวอร์ชั่นที่ Webmaster จะสอนก็คือเวอร์ชั่น 2.5.7 ค่ะ ว่าแล้วก็ไปดาวน์โหลดโปรแกรมกันได้ที่เว็บไซต์ตาม URL ดังนี้ค่ะ http://appserv.sourceforge.net ลองหาลิงค์ดูในหน้าแรกนะค่ะ จะมีบอกไว้ว่าให้ไปดาวน์โหลดที่ไหน (ไม่เกินความสามารถของทุกคนค่ะ) โดยชื่อโปรแกรมที่เราจะดาวน์โหลดจะมีชื่อว่า appserv-win32-2.5.7.exe
รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อโปรแกรม win32 อันนี้จะหมายถึง สามารถติดตั้งได้กับระบบ windows ที่เป็น 32 บิต ขึ้นไปค่ะ ซึ่งคิดว่าทุก ๆ คนคงลงได้หมดค่ะ เพราะตั้งแต่วันโดวน์ 98 หรือสูงกว่า ก็เป็นแบบ 32 บิตแล้วค่ะ ส่วนตัวเลขตามหลัง -2.5.7 ตัวเลข 2.5 หมายถึง เวอร์ชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ของโปรแกรมค่ะ ซึ่งก็อสรุปได้ว่าตัวนี้เป็นเวอร์ชั่น 2.5 ค่ะ ส่วน .7 ตามหลังหมายถึง เวอร์ชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ จากเวอร์ชั้นหลักค่ะ
มื่อดาวน์โหลดมาได้แล้ว ก็จะได้โปรแกรม Appserv ตัวสำหรับติดตั้งดังภาพค่ะ ทีนี้ก็ให้ทำการ Double Click ที่ไฟล์ได้เลยค่ะ หลังจากที่ได้ Double Click แล้วก็จะปรากฏหน้าจอ Setup โปรแกรม Appserv ดังภาพต่อไปนี้
การติดตั้งโปรแกรม Appsev
หน้าตาต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม Appserv 2.5.7 อ่านรายละเอียดสักนิดนะค่ะ หากปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วก็ให้ทำการกดปุ่ม Next > เพื่อทำขั้นตอนต่อไปค่ะ ซึ่งเราจะเจอขั้นตอนต่อไปดังภาพ

รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม Appserv 2.5.7
จะปรากฏหน้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม Appserv 2.5.7 จากนั้นให้ทำการยอมรับข้อตกลงโดยการกดปุ่ม I Agree

เลือก Path ที่จะทำการติดตั้ง Appserv
ขั้นตอนถัดมา จะเป็นขั้นตอนในการเลือก Path ที่จะทำการติดตั้ง Appserv โดยค่า Path เริ่มต้นของการติดตั้งจะอยู่ที่ C:\Appserv หากเราต้องการย้ายไปลงที่อื่นก็สามารถแก้ไขได้เลยค่ะ เมื่อเลือกปลายทางที่ต้องการติดตั้งโปรแกรมได้แล้ว ก็กดปุ่ม Next > เพื่อทำขั้นตอนต่อไปได้เลยค่ะ

การจะติดตั้ง Component
โปรแกรม Appserv นั้นจะมี Components อยู่ด้วยกัน 4 ตัว ตามที่เห็นในภาพค่ะ ซึ่งในขั้นตอนนี้เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการจะติดตั้ง Component ตัวใดบ้าง หากไม่ต้องการตัวไหน ก็สามารถยกเลิกโดยการเอาเครื่องหมายถูกด้านหน้าออกค่ะ แต่ Webmaster แนะนำว่าให้เลือกทั้งหมดน่ะแหละค่ะ เพราะจำเป็นต่อการใช้งานทั้งนั้นค่ะ จากนั้นก็กดปุ่ม Next > ได้เลยค่ะ

กำหนดค่าของ Apache Config
ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดค่าของ Apache Config ในช่อง Server Name ให้กำหนดค่าเป็น localhost ส่วนช่องของ Email Address ใส่อะไรไปก็ได้ค่ะ และส่วนสุดท้าย HTTP Port ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ก็ให้กำหนดเป็น 80 เพราะโดยมาตรฐานแล้ว HTTP Protocal จะกำหนด Port มาตรฐานที่ 80 แต่หากในเครื่องของเราลง IIS ด้วยก็สามารถเปลี่ยน Port โดยกำหนดเป็นหมายเลขอื่นได้ค่ะ แต่จะยุ่งยากนิดนึงค่ะเวลาเรียกใช้งาน เราจะต้องระบุตัว Port ทุกครั้ง เช่น http://localhost:81 (หาเราเปลี่ยนเป็น Port 81) เราสามารถไปแก้ไขไฟล์ httpd.conf หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วก็ได้ค่ะ แต่ก็ยุ่งยากดีแท้นะค่ะ กำหนดเป็น port 80 ไปนะแหละค่ะ สะดวกดี จากนั้นกดปุ่ม Next >

กำหนดค่าของ MySQL Config
ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดค่าของ MySQL Config ในเวอร์ชั่นนี้นั้น จะเพิมความปลอดภัยให้กับระบบฐานข้อมูล โดยเราจะต้องทำการกำหนด Password สำหรับการติดต่อ MySQL (MySQL Connect) ให้ทำการตั้งรหัสผ่าน และทำการยืนยันรหัสผ่าน (รหัสผ่านที่ตั้งไว้ต้องจำไว้นะค่ะ เพราะต้องเอาไปใช้ตอนเขียนโค้ดติดต่อดาต้าเบส โดยจะใช้ควบคู่กับ Username ซึ่งถูกกำหนดไว้แล้ว โดยใช้ Username ชื่อว่า root) จากนั้นให้ทำการเลือกการ Set ค่าของการแสดงผลภาษาเป็น UTF-8 Unicode จากนั้นคลิกปุ่ม Install

เริ่มทำการติดตั้ง Component
ขั้นตอนนี้โปรแกรมจะเริ่มทำการติดตั้ง Component ต่าง ๆ ลงเครื่อง ให้รอจนกว่าโปรแกรมจะติดตั้งเสร็จ

เริ่มต้นการ Start Apache และ MySQL
โปรแกรมติดตั้งเรียบร้อยแล้วค่ะ ให้คลิกปุ่ม Finish เพื่อเริ่มต้นการ Start Apache และ MySQL เพื่อเริ่มทำงานค่ะ
เราสามารถทดสอบการทำงานของ Web Server โดยการเปิดเว็บบราวเซอร์ แล้วพิมพ์ URL ใส่ช่อง Address ดังนี้ค่ะ http://localhost หรือเรียกผ่าน IP โดยใส่ 127.0.0.1 หากเจอหน้าจอแสดงข้อความว่า " The AppServ Open Project - 2.5.7 สำหรับ วินโดวส์" ก็แสดงว่า Web Server สามารถใช้งานได้แล้วค่ะ สำหรับไฟล์ต่าง ๆ ที่เราจะเขียนเป็น HTML หรือ PHP ให้เราทำการเก็บไว้ในไดเร็คทอรี www ตามที่ได้เลือก Path ไว้ เช่น เลือก Path ตอนติดตั้งโปรแกรมไว้ที่ C:\Appserv เราก็เก็บไฟล์เว็บของเราไว้ที่ C:\Appserv\www
เนื่องจาก Appserv สามารถใช้ IP หรือชื่อเรียก localhost ได้แค่ค่าเดียว หากเราต้องการสร้างเว็บหลาย ๆ เว็บ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและง่ายต่อการจัดการ เราควรสร้างไดเร็คทอรีเพิ่มใน www ตามชื่องานหรือชื่อเว็บของเราเช่น มีเว็บ 2 เว็บชื่อ nextstepdev กับ thainextstep เราก็ต้องสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาใน www 2 โฟลเดอร์ตามชื่อดังกล่าว เมื่อเราจะทดสอบเว็บใดก็สามารถเรียกได้ดังนี้
http://localhost/nextstepdev หรือ http://127.0.0.1/nextstepdev
http://localhost/thainextstep หรือ http://127.0.0.1/thainextstep
เพียงแค่นี้เราก็สามารถสร้างงานหรือเว็บเก็บไว้ใน www ได้มากมายเลยค่ะ
ที่มา :http://www.thainextstep.com/php/appserv_setup.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น